อะตอม
ความคิดที่ว่าสารทั้งปวงประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานชนิดหนึ่ง ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อลิวคิปปอส (Leukippos) และดีมอคริตอส (Demokritos) เสนอทฤษฎีที่กล่าวถึงอะตอม(atom) (โดยคำว่า atom มาจากภาษากรีกว่า atomos a แปลว่า ไม่ tomos แปลว่า แบ่งได้) และอธิบายว่าการที่สารต่างชนิดกันมีสมบัติต่างกันนั้นเป็นเพราะอะตอมของสารเหล่านั้นมีรูปร่าง น้ำหนัก การจัดตัวและการรวมตัวไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของของเหลว มีรูปร่างกลมเรียบและสามารถกลิ้งไปมาได้ง่าย ในขณะที่อะตอมของของแข็งจะมีรูปขรุขระ ซึ่งสามารถเกาะกันได้ดีกว่า
Democritos (460-370 BC)
Demokritos ใช้วิธีการสังเกตว่าสสารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรโดยเขาเชื่อว่าการเคลื่อนที่ของอะตอมเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสาร อย่างไรก็ตาม Demokritos ไม่ได้มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของเขาถูกต้องอย่างไรก็ตามมีเพียงบุคคลบางกลุ่มที่เห็นด้วยกับทฤษฎีของDemokritos
Dalton (1766 - 1844)
ในระหว่างศตวรรษที่ 17 และ 18 เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเรื่อง สสารอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาวิทยาศาสตร์มากขึ้นโดยเฉพาะในยุโรป ช่วงนี้มีผู้ค้นพบและพัฒนาทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ จอห์น ดอลตัน ซึ่งเป็นนักเคมี นักอุตุนิยมวิทยา จอห์น ดอลตัน เกิดในตระกูลชาวนาและช่างทอผ้าในอังกฤษ เขาเป็นนักเรียนที่ฉลาดและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเขาจบการศึกษาได้ทำงานเป็นเลขานุการของ Manchester Literary และ Philosophical Society และเขาเริ่มศึกษาพฤติกรรมของแก๊สอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาองค์ประกอบของแก๊สผสม ความดันของไอน้ำและไออื่นๆ ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน จากการทดลองของเขาหลายครั้งทำให้เขาสามารถตั้งทฤษฎีของแก๊ส โดยเฉพาะเรื่องความดันย่อยของแก๊ส จนเกิดเป็นกฏความดันย่อยของดอลตัน ในปี คศ.1803 ดอลตันทำการทดลองและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแก๊สและการเกิดสารประกอบอีกหลายประเด็น จนทำให้เขาสามารถนำไปสู่การตั้งทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่งๆ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1.ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ หลายอนุภาคอนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
2.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน เช่น มีมวลเท่ากัน แต่จะมีสมบัติแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น
3.สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
4.โมเลกุลของสารประกอบชนิดเดียวกันย่อมมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ และมีสมบัติแตกต่างจากสารประกอบอื่น
ทฤษฎีอะตอมของดอลตันช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นสามารถอธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง ต่อมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับอะตอมเพิ่มขึ้นและค้นพบข้อมูลบางประการที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดของดอลตัน เช่น พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้ อะตอมสามารถแบ่งแยกได้ นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมแล้วสร้างแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่
แหล่งที่มา
งานนำเสนอเรื่อง สมบัติของสาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2560. จาก
http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/somchai/unt9/un9.html
http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/somchai/unt9/un9.html
งานนำเสนอเรื่อง ธาตุกัมมันตรังสีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2560. จาก
http://www.krusarawut.net/wp/?p=12340
http://www.krusarawut.net/wp/?p=12340
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น